Friday, June 12, 2009

ประชาชน เริ่มไม่ไว้ใจ นายกอภิสิทธิ์ ได้หรือยัง

ประชาชน เริ่มไม่ไว้ใจ นายกอภิสิทธิ์ ได้หรือยัง

นายกมาร์ค ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เศรษฐกิจไตรมาสแรก ที่ สภาพัฒฯ กำลังจะประกาศในวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา น่าจะติดลบมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์[1] ซึ่งเกิดขึ้นใน ไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว นั่นหมายถึง การหดตัวทางเศรษฐกิจ ในระดับที่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้ พี่มาร์ค ยังกล่าวต่อว่า รัฐบาลได้พยายาม พยุงกำลังซื้อของประชาชน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือน มีนาคม โดยหวังว่าจะเห็นผล ในไตรมาสที่สองของปีนี้ สุดท้าย สภาพัฒฯ ประกาศ GDP ติดลบกว่า 7 เปอร์เซนต์

ประเด็นแรกที่ นายกรัฐมนตรี ควรถูกตำหนิ คือ การกล่าวถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการสลายการชุมนุมในเดือน เมษายน ซึ่งรัฐบาลสั่งให้ทหารเป็นผู้ปฏิบัติการ มีความว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการสลายการชุมนุมที่รัฐบาลสั่งการในช่วงสงกรานต์นั้นอาจจะมีผลกระทบ ต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลได้ทำไว้ในไตรมาศแรก โดยที่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีหลักฐาน หรือ บทวิเคราะห์ทางวิชาการ สนับสนุน ว่าการสั่งการสลายการชุมนุมในเดือนเมษานั้น มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เป็นจำนวนเท่าไหร่ ดังนั้น นายกรัฐมนตรี สมควรถูกตำหนิ เรื่องการสั่งการที่ผิดพลาด จนเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเดือนเมษายน

ประเด็นที่สอง นายกรัฐมนตรี ควรถูกตำหนิ ในเรื่องของการปฏิบัติตนสองมาตรฐาน เนื่องจากหลักฐานทางวิชาการ และ บทวิเคราะห์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ระบุถึงความเสียหาย ในหลัก แสนล้าน ที่เกิดขึ้นจากความสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเดียวกับนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ใน คณะรัฐมนตรีของท่านนายกรัฐมนตรี ที่ได้ไปร่วมปิดสนามบินนานาชาติในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ระบุชัดเจนว่า การปิดสนามบินของพันธมิตร จะมีผลกระทบต่อ เศรษฐกิจในปี 2552 อย่างน้อย 3 เปอร์เซ็นต์[2] เมื่อเป็นเช่นนี้ นายกรัฐมนตรี ควรถูกตำหนิในเรื่องของการปฏิบัติตนสองมาตรฐาน คือ ไม่ชี้แจงว่า เหตุการณ์ปิดสนามบินมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไตรมาสแรกอย่างน้อย 3 เปอร์เซ็นต์ แต่ เลือกชี้แจงว่า การสลายการชุมนุมในเดือน เมษายน จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในไตรมาสหน้า

ประเด็นที่สาม เป็นเรื่องของการเล่นการเมืองน้ำเน่า ของ นายกรัฐมนตรี ซึ่งก่อนหน้านี้ มีจุดยืนชัดเจนมาตลอด ว่า จะไม่แก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของนักการเมือง แต่วันนี้ นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงจุดยืนชัดเจนแล้วว่า สนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญ ยกเลิก บทลงโทษ ยุบพรรค[3] ทั้งๆที่ พรรคประชาธิปัตย์เองเคย มี มติพรรค ออกมาแล้วว่า ไม่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่า ผู้เขียนเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ ท่านนายกรัฐมนตรีได้แสดงจุดยืนไว้ แต่ก็ต้องขอตำหนิ ในท่าทีก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่ได้แสดงความจริงใจ ได้ดีไปกว่า การชิงธงนำในการแก้ รัฐธรรมนูญ และ การยืดอายุของรัฐบาลประชาธิปัตย์

สามประเด็นคร่าวๆก็มีน้ำหนักและเพียงพอ ที่ประชาชนจะไม่ไว้วางใจรัฐบาลชุดที่มี นายก อภิสิทธิ์ บริหารงาน ทั้งนี้ ผู้เขียนยังไม่ได้กล่าวถึงการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ผิดพลาดของรัฐบาล แล้วมาลงเอยด้วยการรีดภาษีขูดเลือดจากประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีน้ำมัน ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคการขนส่ง และ ภาคการผลิต รวมไปถึง การวางแผนกู้เงินล่วงหน้า โดยไม่มีคำชี้แจงอย่างระเอียดให้แก่ประชาชนได้ทราบโดยทั่วไป

ทั้งนี้ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนโดยทั่วไป จะต้องจับตาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลชุดนี้ พร้อมทั้งยังต้องช่วยกันเร่งรัด ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็ว และให้รัฐบาลทำการยุบสภาเพื่อเปิดโอกาส ให้รัฐบาลแสดงความ บริสุทธิ์ใจลงเลือกตั้งใหม่ แล้วจึงค่อยกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลตามเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ของประชาชน

อ้างอิง

[1] "อภิสิทธิ์"คาดตัวเลขจีดีพี สศช. เชื่อไตรมาส1จะชะลอแรงต่ำกว่า5% ยาหอมแม้เกิดสงกรานต์เดือด เชื่อมั่นไตรมาส2จะไม่ต่ำกว่า กำลังผลิตเพิ่มแล้ว60%http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20090523/44821/นายกฯคาดจีดีพีไตรมาส1ชะลอแรงต่ำกว่า5.html

[2] ผลกระทบจากการปิดสนามบิน เสียหาย 2.9 แสนล้านบาท โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย http://www.bot.or.th/Thai/EconomicCondi ... 102552.pdf

[3] การเปิดใจของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าเห็นด้วยที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญhttp://www.thairath.co.th/content/pol/7750

No comments:

Post a Comment